บริการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

เริ่มต้นลงทุนในธุรกิจชั้นนำ ด้วยตนเอง

บริการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

เริ่มต้นลงทุนในธุรกิจชั้นนำ ด้วยตนเอง

ผลิตภัณฑ์และบริการ

ตอบสนองทุกรูปแบบการลงทุน

บริการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า


ทำความรู้จักตราสารอนุพันธ์ (Derivatives)

        อนุพันธ์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ สินค้าทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่ทำขึ้นเพื่อให้ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ตกลงซื้อขาย หรือให้สิทธิในการซื้อขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต โดยมีการระบุประเภทสินค้า สเปค ราคา จำนวน การชำระเงิน และวันหมดอายุสัญญาหรือวันส่งมอบรับมอบที่ชัดเจน

        ในการซื้อขายอนุพันธ์นั้น “ผู้ซื้อ(Buy) จะเรียกว่ามีสถานะ Long” และ “ผู้ขาย(Sell) จะเรียกว่ามีสถานะ Short” ดังนั้นอนุพันธ์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้ จึงเป็นสินค้าที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับมูลค่าสินค้าอ้างอิง(Underlying Asset) ที่อนุพันธ์นั้นๆ อ้างอิงอยู่

ประเภทของอนุพันธ์

        ตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายการในตลาดการเงินแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ Futures, Options, Forward และSwap “สำหรับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ประเทศไทย) หรือ TFEX” มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์อยู่ 2 ประเภท คือ ฟิวเจอร์ส(Futures) และออปชั่น(Options)

ฟิวเจอร์ส (Futures) คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายทำการตกลงกันเพื่อซื้อ/ขายสินค้าอ้างอิงกันในอนาคต โดยมีการกำหนดในวันนี้ถึงประเภทสินค้า สเปค ราคา จำนวน วิธีการชำระราคาหรือส่งมอบ และระบุวันสิ้นสุดอายุสัญญา

ออปชั่น (Options) คือ สัญญาสิทธิ ที่ผู้ซื้อได้สิทธิในการซื้อ (Call) หรือสิทธิในการขาย (Put) สินค้าอ้างอิงนั้น จากผู้ขาย ในจำนวน และราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยสัญญามีวันสิ้นสุดอายุ โดยผู้ขายมีภาระต้องปฏิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้

        ทั้งนี้ Futures และ Options ไม่จำเป็นต้องถือสัญญาจนครบกำหนดอายุ นักลงทุนสามารถทำการล้างสถานะหรือการปิดสัญญาได้ผ่านการลงทุนในตลาด TFEX

Contract Specification ลักษณะสัญญาของสินค้าในตลาด TFEX

SET50 Index คือ ดัชนีที่คำนวณแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) ของหุ้นสามัญจำนวน 50 หุ้นที่ผ่านการคัดเลือกโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

SET50 Index Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิง SET50 Index คือ สัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันว่าจะทำการซื้อขาย SET50 Index ในอนาคต ณ ราคาที่ถูกกำหนดในวันทำสัญญา และภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

Contract Specification

Click to Icon hide
Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ดัชนี SET50 ที่คำนวณ และเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (S50)
ตัวคูณดัชนี 200 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนใกล้ 3 เดือนติดต่อกัน และ เดือนสุดท้ายของไตรมาสใน 3 ไตรมาสถัดไป
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายเป็นระดับดัชนี
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 จุด (คิดเป็นมูลค่า 20 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน ± 30% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย SET50 Index Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ค่าเฉลี่ยของดัชนี SET50 ของวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยคำนวณจากค่าดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และ ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

SET50 Index Options คือ ตราสารอนุพันธ์ที่มูลค่าอ้างอิงกับระดับของดัชนี SET50 โดยผู้ซื้อสิทธิ (Long Options) เป็นผู้จ่ายเงิน จำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ขายสิทธิ (Short Options) เพื่อแลกกับสิทธิที่ได้มาตามสัญญา โดยเงินจำนวนนั้นเรียกว่า ค่าพรีเมี่ยม (Premium) ทั้งนี้ สัญญาจะมีการระบุวันหมดอายุ หากครบกำหนดอายุสัญญาผู้ซื้อตัดสินใจใช้สิทธิ ผู้ขายมีภาระผูกพันที่จะต้องทำตามข้อตกลงในสัญญา

SET50 Index Options มี 2 ประเภท ได้แก่

  1. Call SET50 Index Options คือ การให้สิทธิแก่ผู้ถือในการ “ซื้อ” ดัชนี SET50 ตามราคาใช้สิทธิ
  2. Put SET50 Index Options คือ การให้สิทธิแก่ผู้ถือในการ “ขาย” ดัชนี SET50 ตามราคาใช้สิทธิ

Options Type

Click to Icon hide
สัญญา จ่าย Premium รับ Premium ดัชนี SET50 = ราคาใช้สิทธิ ดัชนี SET50 > ราคาใช้สิทธิ ดัชนี SET50 < ราคาใช้สิทธิ
Long Call ขาดทุน Premium กำไรส่วนต่าง ราคาใช้สิทธิ – Premium ขาดทุน Premium
Long Put ขาดทุน Premium ขาดทุน Premium กำไรส่วนต่าง
ราคาใช้สิทธิ – Premium
Short Call กำไร Premium ขาดทุนส่วนต่าง
ราคาใช้สิทธิ – Premium
กำไร Premium
Short Put กำไร Premium กำไร Premium ขาดทุนส่วนต่าง
ราคาใช้สิทธิ – Premium

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ดัชนี SET50 (S50) ที่คำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตัวคูณดัชนี 200 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนใกล้ 3 เดือนติดต่อกัน และ เดือนสุดท้ายของไตรมาสถัดไป
ราคาเสนอซื้อขาย ระดับราคาค่า Premium
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 จุด (คิดเป็นมูลค่า 20 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน 30% ของ SET50 Index แล้วนำมา ± ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า
ประเภทการใช้สิทธิ ใช้สิทธิได้เมื่อสัญญาถึงกำหนดเท่านั้น (European) โดยมีทั้งสิทธิในการซื้อ (Call) และ สิทธิในการขาย (Put)
ราคาใช้สิทธิ ให้ช่วงห่างของราคาใช้สิทธิเท่ากับ 25 จุด โดยในช่วงเริ่มต้นของทุกวันทำการจะมีออปชั่น Series ต่อไปนี้ At-the-money จำนวน 1 Series ส่วน In-the-money และ Out-of-the-money จำนวนอย่างละไม่น้อยกว่า 4 Series
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย SET50 Index Options แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ค่าเฉลี่ยของดัชนี SET50 ของวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยคำนวณจากค่าดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และ ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

Series Name ชื่อย่อสัญญาประกอบด้วย 5 ส่วน ดังต่อไปนี้

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง
S50
เดือนครบกำหนดอายุ ปีครบกำหนดอายุ ประเภทสิทธิ
(Call , Put)
ราคาใช้สิทธิ




Sector Index Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงดัชนีหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยประกอบด้วย 5 หมวดธุรกิจ อันได้แก่ ธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลังงาน พาณิชย์ และ อาหารและเครื่องดื่ม

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ดัชนีหมวดธุรกิจ ซึ่งคำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ธนาคาร(BANK) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) พลังงาน(ENERG) พาณิชย์(COMM) อาหารและเครื่องดื่ม(FOOD)
ตัวคูณดัชนี 1,000 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี 10 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือน มีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย ระดับดัชนีของหมวดอุตสาหกรรม
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 จุดดัชนี (คิดเป็น 100 บาทต่อสัญญา) 1 จุดดัชนี (คิดเป็น 10 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน 30% ของ Sector Index แล้วนำมา ± ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Sector Index Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขายสิ้นสุดในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ค่าเฉลี่ยของดัชนีหมวดธุรกิจอ้างอิง ของวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยคำนวณจากค่าดัชนีในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และ ใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง

Single Stock Futures หรือ SSF คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นหุ้นสามัญที่ทาง TFEX กำหนด ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 5-20% ของมูลค่าทั้งหมดเพื่อวางเป็นหลักประกัน ใช้เป็นช่องทางสร้างโอกาสทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้น และขาลง นักลงทุนเลือกใช้เป็นเครื่องมือเก็งกำไร หรือป้องกันความเสี่ยงได้

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง หุ้นสามัญที่ตลาดอนุพันธ์กำหนด ปัจจุบันมีทั้งหมด 126 ตัว ได้แก่ AAV, ADVANC, AEONTS, AMATA, AOT, AP, AWC, BA, BAM, BANPU, BAY, BBL, BCH, BCP, BCPG, BDMS, BEAUTY, BEC, BEM, BGRIM, BH, BJC, BLA, BLAND, BPP, BSRC, BTS, CBG, CENTEL, CHG, CK, CKP, COM7, CPALL, CPF, CPN, CRC, DELTA, EA, EASTW, EGCO, EPG, ERW, GFPT, GLOBAL, GPSC, GULF, GUNKUL, HANA, HMPRO, ICHI, INTUCH, IRPC, ITD, IVL, JAS, JMT, KBANK, KCE, KEX, KKP, KTB, KTC, LH, LPN, M, MAJOR, MBK, MEGA, MINT, MTC, OR, ORI, OSP, PLANB, PRM, PSH, PSL, PTG, PTT, PTTEP, PTTGC, QH, RATCH, RS, S, SAMART, SAWAD, SCB, SCC, SCGP, SGP, SIRI, SPALI, SPCG, SPRC, STA, STEC, STGT, STPI, SUPER, TASCO, TCAP, THAI, THANI, THCOM, THG, TISCO, TKN, TOA, TOP, TPIPL, TPIPP, TQM, TRUE, TTA, TTB, TTCL, TTW, TU, TVO, UNIQ, VGI, VNG, WHA และ WHAUP
ขนาดสัญญา 1,000 หุ้น (เว้นแต่มี Corporate Action)
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือน มีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย ราคาต่อหุ้น
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 บาท (คิดเป็นมูลค่า 10 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ±30% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Stock Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขายสิ้นสุดในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย คำนวณจากค่าเฉลี่ยของราคาซื้อขายของหุ้นอ้างอิงของ Stock Futures ในช่วง 15 นาทีสุดท้ายและราคาปิดของหุ้นในวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

Gold Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีทองคำเป็นสินค้าอ้างอิง ที่อ้างอิงทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% ซื้อขายในสกุลเงินบาท ซึ่งสามารถใช้ทำกำไรได้ทั้งราคาทอง ขาขึ้น และราคาทองขาลง ในปัจจุบันมีสัญญา 2 ขนาด ได้แก่สัญญา 10 บาททองคำ และ สัญญา 50 บาททองคำ โดยมีรายละอียดดังนี้

Contract Specification

สินค้าอ้างอิง 1.ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% ขนาด 10 บาททองคำ (GF10)
2.ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% ขนาด 50 บาททองคำ (GF)
ขนาดของสัญญา 1.ทองคำน้ำหนัก 10 บาท
2.ทองคำน้ำหนัก 50 บาท
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนคู่ (กุมภาพันธ์ (G) เมษายน (J) มิถุนายน (M) สิงหาคม (Q) ตุลาคม (V) และธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 3 เดือนคู่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย บาทต่อทองคำน้ำหนัก 1 บาท
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 10 บาท (คิดเป็นมูลค่า 100 บาทต่อสัญญา)
10 บาท (คิดเป็นมูลค่า 500 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling/Floor จะหยุดการซื้อขายชั่วคราว และขยายเป็น
± 20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Day session:
09:45 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น. (วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Gold Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ใช้ราคา London Gold AM Fixing เป็นราคาอ้างอิงในการคำนวณราคา Final Settlement Price โดยการคำนวณจะปรับอัตราแลกเปลี่ยน น้ำหนักและความบริสุทธิ์ของทองคำตามสูตรการคำนวณ ดังนี้ = London Gold AM Fixing x (15.244/31.1035) x (0.965/0.995) x (THB/USD)

Gold Online Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีทองคำเป็นสินค้าอ้างอิง ที่อ้างอิงทองคำความบริสุทธิ์ 99.5% ซึ่งสามารถใช้ทำกำไรได้ทั้งราคาทอง ขาขึ้น และราคาทองขาลง โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน สามารถติดตามและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของทองคำได้ตามราคาทองคำในตลาดโลก ไม่ยุ่งยากในการคำนวณ

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.5% (International Trading Standard) (GO)
ขนาดสัญญา 300 เท่าของราคาสินค้าอ้างอิง (Multiplier) โดยไม่นำอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ในการคำนวณ
ตัวคูณดัชนี 300 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักทองคำ 1 ทรอยออนซ์
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และ ธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาสที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักทองคำ 1 ทรอยออนซ์
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 ดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นมูลค่า 30 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling/Floor จะหยุดการซื้อขายชั่วคราว และขยายเป็น
± 20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Day session:
09:45 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น. (วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Gold Online Futures แต่ละสัญญา
วันสุดท้ายของการซื้อขาย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดเวลา 16:30น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายวันสุดท้าย ใช้ราคา LBMA Gold AM Fixing ของวันสุดท้ายของการซื้อขาย เป็นราคาที่ใช้อ้างอิงในการคํานวณราคาสําหรับการส่งมอบหรือใช้อ้างอิงเพื่อคํานวณส่วน ต่างของราคาเพื่อใช้ในการชําระหนี้ในวันซื้อขายวันสุดท้าย (Final Settlement Price) โดยไม่นำอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ในการคำนวณ

GOLD-D Futures  เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ซื้อขายกันในต่างประเทศ โดยเสนอราคาซื้อขาย (quote) เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) และกำหนดให้มีการชำระราคาด้วยการรับมอบ/ส่งมอบทองคำจริง (Physical Delivery) เมื่อครบอายุสัญญา

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% (GD)
ขนาดสัญญา ทองคำหนัก 100 กรัม (3.2148 ทรอยออนซ์)
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และ ธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 1 ไตรมาสที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักทองคำ 1 ทรอยออนซ์
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 10% จากราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor จะหยุดการซื้อขายชั่วคราวก่อน และขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น ±20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Day session:
09:45 น. - 16:30 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น. (วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Gold-D Futures แต่ละสัญญา
วันสุดท้ายของการซื้อขาย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดในเวลา 16:30 น.
วิธีการส่งมอบ / ชำระราคา ไม่มีการส่งมอบสินค้าสำหรับหลักทรัพย์กสิกรไทย ให้ชำระราคาเป็นเงินสด Cash Settlement เท่านั้น
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายวันสุดท้าย ราคาซื้อขายถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (VWAP) ในช่วง 30 นาทีสุดท้าย x (THB/USD) x 3.2148

Silver Online Futures  คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีโลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ 99.9% เป็นสินค้าอ้างอิง ซึ่งสามารถใช้ทำกำไรได้ทั้งราคาโลหะเงิน ขาขึ้น และขาลง โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน สามารถติดตามราคา และวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของโลหะเงินได้ตามราคาโลหะเงินในตลาดโลก ไม่ยุ่งยากในการคำนวณราคา

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง โลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ 99.9% (SVF)
ขนาดสัญญา 3,000 เท่าของราคาสินค้าอ้างอิง (Multiplier) โดยไม่นำอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ในการคำนวณ
ตัวคูณดัชนี 3,000 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักโลหะเงิน 1 ทรอยออนซ์
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และ ธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาสที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักโลหะเงิน 1 ทรอยออนซ์
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ (คิดเป็นมูลค่า 30 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน ± 10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling/Floor จะหยุดการซื้อขายชั่วคราว และขยายเป็น
± 20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open  :
09:15 น. - 09:45 น.
Day session :
09:45 น. - 16:55 น.
Pre-open  :
18:45 น. - 18:50 น.
Night session :
18:50 น. - 3:00 น. (วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ในการชำระราคา ทุกสิ้นวัน โดยคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Silver Online Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาครบกำหนดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดในเวลา 16:55 น.           
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวัน ซื้อขายสุดท้าย ใช้ราคา LBMA Silver Price Fixing ของวันสุดท้ายของการซื้อขายเป็นราคาที่ใช้อ้างอิงในการคำนวณ Final Settlement Price โดยไม่นำอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้คำนวณ

USD Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น สัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันในวันนี้ ว่าจะทำการซื้อขาย ดอลลาร์ฯ กันในอนาคต โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดตั้งแต่วันที่ทำสัญญา โดยการลงทุนใน USD Futures ผู้ลงทุนสามารถเก็งกำไรทิศทาง และใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งทำให้กำหนดรายได้ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐในอนาคตได้ตั้งแต่ปัจจุบัน ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าค่าเงินบาทอาจจะเปลี่ยนแปลงไป และมีผลทำให้ได้รายได้ลดลง หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ต่อ เงินดอลลาร์สหรัฐ(USD)
ขนาดสัญญา  1,000 ดอลลาร์สหรัฐ
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ทุกเดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลำดับกัน 3 เดือนที่ใกล้ที่สุด และเดือนสุดท้ายของไตรมาสถัดไปอีก 1 เดือน
ราคาเสนอราคาซื้อขาย เป็นเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 หรือเทียบเท่ากับ 10 บาทต่อสัญญา
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน ± 2% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าวตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งพร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น
±4% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
จำนวนการถือครองสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุด ห้ามมีฐานะสุทธิใน USD Futures ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือทั้งหมด เกิน 10,000 สัญญา
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น.(วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย USD Future แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขายสิ้นสุดเวลา 11:00น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่ประกาศ โดย Thomson Reuters ณ เวลา 11:00 น. ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย และใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง

EUR/USD Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นคู่เงิน (Currency Pairs) ที่ได้รับความนิยมซื้อขายทั้งใน และต่างประเทศ โดยใช้เงินบาทในการวางหลักประกันหรือมาร์จิ้นเพื่อซื้อขาย เป็นทางเลือกให้นักลงทุนในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และเป็นโอกาสในการซื้อขายเพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของค่าเงิน มีการคำนวณกำไรขาดทุนเป็นเงินบาทด้วยตัวคูณแบบคงที่ โดยมี TFEX หรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ดำเนินการภายใต้กฏเกณฑ์ และการกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง อัตราแลกเปลี่ยนเงินเงินยูโร ต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ(EUR/USD Exchange rate)
ขนาดสัญญา 30,000 เท่าของราคาสินค้าอ้างอิง (Muitiplier)
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และ ธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 1 ไตรมาสที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอราคาซื้อขาย เป็นเงิน USD ต่อ 1 EUR โดยมีจุดทศนิยม 4 ตำแหน่ง
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.0001 USD (คิดเป็นมูลค่า 3 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน ± 2.5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าวตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งพร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น
±5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
จำนวนการถือครองสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุด ห้ามมีฐานะสุทธิใน EUR/USD Futures ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือทั้งหมด เกิน 50,000 สัญญา
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น.(วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย EUR/USD Future แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขายสิ้นสุดเวลา 11:00น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศ โดย Refinitiv (Thomson Reuters: WM Spot Rate) ณ เวลา 11:00 น. ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย

USD/JPY Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐต่อเงินเยน ซึ่งเป็นคู่เงิน (Currency Pairs) ที่ได้รับความนิยมซื้อขายทั้งใน และต่างประเทศ โดยใช้เงินบาทในการวางหลักประกันหรือมาร์จิ้นเพื่อซื้อขาย เป็นทางเลือกให้นักลงทุนในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และเป็นโอกาสในการซื้อขายเพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของค่าเงิน มีการคำนวณกำไรขาดทุนเป็นเงินบาทด้วยตัวคูณแบบคงที่ โดยมี TFEX หรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ดำเนินการภายใต้กฏเกณฑ์ และการกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐ ต่อเงินเยน (USD/JPY Exchange rate)
ขนาดสัญญา 300 เท่าของราคาสินค้าอ้างอิง (Muitiplier)
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และ ธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 1 ไตรมาสที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอราคาซื้อขาย เป็น JPY ต่อ 1 USD โดยมีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 JPY (คิดเป็นมูลค่า 3 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดและต่ำสุดแต่ละวัน ± 2.5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าวตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งพร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น
±5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
จำนวนการถือครองสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุด ห้ามมีฐานะสุทธิใน USD/JPY Futures ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือทั้งหมด เกิน 50,000 สัญญา
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น.(วันถัดไป)
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย USD/JPY Future แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขายสิ้นสุดเวลา 11:00น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศ โดย Refinitiv (Thomson Reuters: WM Spot Rate) ณ เวลา 11:00 น. ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย

Rubber Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่อ้างอิงตามมาตรฐาน Green Book เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคายางพารา และเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของราคายางพาราได้อีกด้วย

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ตามมาตรฐาน Green book (RSS3)
ขนาดสัญญา 5,000 กิโลกรัม (5ตัน)
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ทุกเดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลำดับกัน 7 เดือนที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย บาท ต่อ ยางแผ่นรมควัน 1 กิโลกรัม
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.05 บาท (คิดเป็นมูลค่า 250 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งพร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น
±10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Open session:
09:45 น. - 16:55 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน คำนวนจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Rubber Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยให้ช่วงเวลาซื้อขายในวันสุดท้ายของการซื้อขาย สิ้นสุดในเวลา 16:55 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ไม่มีการส่งมอบสินค้าสำหรับหลักทรัพย์กสิกรไทย ให้ชำระราคาเป็นเงินสด Cash Settlement เท่านั้นโดยใช้ราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการซื้อขายในวันสุดท้าย หากมีปริมาณการซื้อขายขั้นต่ำตามที่ตลาดกำหนด กรณีมีการซื้อขายไม่ถึงระดับที่กำหนด ให้ใช้ราคาเฉลี่ย 3 วันสุดท้ายของ Daily Settlement Price

Japanese Rubber Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าประเทศญี่ปุ่น (ตลาด JPX/OSE หรือตลาดTOCOM) ซึ่งเป็นตลาดที่มีการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในปริมาณมาก ผู้ผลิตและผู้บริโภคยางพารามักจะใช้ราคาซื้อขายในการอ้างอิงสำหรับตัดสินใจทำธุรกรรมต่างๆ

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเทศญี่ปุ่น (JRF)
ขนาดสัญญา 300 เท่าของราคาสินค้าอ้างอิง (Multiplier) โดยไม่นำอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ในการคำนวณ
ตัวคูณดัชนี 300 บาท ต่อ 1 เยนต่อ กก.
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ทุกเดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรื่องลำดับกัน 6 เดือนที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย เยน ต่อ ยางแผ่นรมควันชั้น3 น้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.10 เยน ต่อ กิโลกรัม (คิดเป็นมูลค่า 30 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 10% ของราคาที่ใช้ในการชำระราคาล่าสุด หากมีการซื้อขายที่ Ceiling/Floor จะหยุดซื้อขายชั่วคราวและขยายเป็น
± 20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open :
09:15 น. - 09:45 น.
Open session :
09:45 น. - 16:55 น.
ราคาที่ใช้ในการชำระราคา ทุกสิ้นวัน โดยคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย Japanese Rubber Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการที่สี่ (T-4) ก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาหมดอายุ โดยวันสุดท้ายสิ้นสุดในเวลา 13.15 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวัน ซื้อขายสุดท้าย ใช้ราคา JPX/OSE RSS3 Rubber Futures ของวันสุดท้ายของการซื้อขาย เป็น Final Settlement Price โดยไม่นำอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ในการคำนวณ

3M BIBOR Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 3 เดือน BIBOR ใช้เพื่อป้องกันหรือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของ อัตราดอกเบี้ยที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงไว้ได้ หรือปรับเปลี่ยนสัดส่วนในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ลงทุนสามารถบริหาร จัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง อัตราดอกเบี้ย BIBOR ประเภท 3 เดือน (BB3)
ขนาดสัญญา มูลค่าเท่ากับ 10,000,000 บาท
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายต่อหน่วยเป็นค่า 100 - อัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าของ 3M BIBOR
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.005 (คิดเป็นมูลค่า 125 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 2.5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open :
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session :
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open :
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session :
13:45 น. - 16:00 น.
ราคาที่ใช้ในการชำระราคา ทุกสิ้นวัน โดยคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย 3M BIBOR Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันพุธที่สามของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้นสัญญาที่หมดอายุจะซื้อขาย ได้ถึง เวลา 11:00 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวัน ซื้อขายสุดท้าย กำหนดให้เท่ากับ 100 - อัตราดอกเบี้ย 3M BIBOR ซึ่งประกาศโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เวลา 11:00 น. ในวันซื้อขายวันสุดท้าย

5Y Gov Bond Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ที่ใช้เพื่อป้องกันหรือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของ อัตราดอกเบี้ยที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงไว้ได้ หรือปรับเปลี่ยนสัดส่วนในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ลงทุนสามารถบริหาร จัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Contract Specification

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง พันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 ปี ที่มีอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี (TGB5)
ขนาดสัญญา มูลค่าเท่ากับ 1,000,000 บาท
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม (H) มิถุนายน (M) กันยายน (U) และธันวาคม (Z) โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายเป็นราคาต่อพันธบัตรมูลค่า 100 บาท
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 (คิดเป็นมูลค่า 100 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด และต่ำสุดแต่ละวัน ± 5% ของราคาที่ใช้ชาระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open :
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session :
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open :
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session :
13:45 น. - 16:00 น.
ราคาที่ใช้ในการชำระราคา ทุกสิ้นวัน โดยคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคาซื้อขาย 5Y Government Bond Futures แต่ละสัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันพุธที่สามของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้นสัญญาที่หมดอายุจะซื้อขาย ได้ถึง เวลา 16:00 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวัน ซื้อขายสุดท้าย กำหนดเป็นราคาต่อพันธบัตรมูลค่า 100 บาท และคำนวณจากอัตราคิดลด (Yield) ของกลุ่มพันธบัตร (Basket of Eligible Bonds) ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย ซึ่งอัตราคิดลดของพันธบัตรแต่ละรุ่นในกลุ่มพันธบัตร นั้นจะเป็นข้อมูลที่ได้รับจากสถาบันการเงินที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากำหนด

จุดเด่นในการลงทุนตราสารอนุพันธ์

1. สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น และขาลง :

- ช่วงตลาดขาขึ้น ผู้ที่ถือสถานะ Long จะกำไร และ ผู้ที่ถือสถานะ Short จะขาดทุน

- ช่วงตลาดขาลง ผู้ที่ถือสถานะ Short จะกำไร และ ผู้ที่ถือสถานะ Long จะขาดทุน

2. ใช้เงินลงทุนน้อย สร้างอัตราผลตอบแทนสูง (Leverage) :

ในตลาด TFEX นักลงทุนไม่จำเป็นต้องวางเงินเต็มจำนวน นักลงทุนจะวางหลักประกันเพียง 5-20% ของมูลค่าสัญญาเท่านั้น (ตามที่ตลาดTFEXกำหนด) ในขณะที่ผลตอบแทนจะคำนวณจากมูลค่าสัญญา อย่างไรก็ดี หากการลงทุนเป็นไปตามทิศทางที่คาดการณ์ไว้ นักลงทุนจะได้รับผลกำไรในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับเงินที่ใช้ในการลงทุน แต่ในทางกลับกัน หากการลงทุนไม่เป็นไปตามทิศทางที่คาดการณ์ไว้ ก็จะมีผลขาดทุนสูงด้วยเช่นกัน

กลยุทธ์การลงทุนในตราสารอนุพันธ์

Speculation การเก็งกำไร ในตลาด TFEX โดยส่วนมากจะนิยมใน 2 รูปแบบ ดังนี้

1. การเก็งกำไรจากทิศทางของราคา

     คือ การเก็งกำไรจากการคาดการณ์ทิศทางของราคาสินค้าอ้างอิง โดยนักลงทุนจะทำการเปิดสถานะ Long(ซื้อ) หากคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าอ้างอิงจะมีการปรับตัวขึ้น และจะเปิดสถานะ Short(ขาย) หากคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าอ้างอิงจะมีการปรับตัวลง

     การเก็งกำไรจากทิศทางของราคาสินค้าอ้างอิง เป็นการเก็งกำไรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากเป็นแนวคิดพื้นฐานของการทำกำไร และนิยมใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิคในการหาจังหวะการซื้อขาย

ตัวอย่างการเก็งกำไรจากทิศทางของราคา

     นักลงทุนคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนจึงทำการ ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Gold Online Futures รุ่นสัญญาหมดอายุในเดือนมีนาคม 2022 โดยทำการเปิดสถานะ Open Long GOH22 ที่ราคา 1,800 จำนวน 1 สัญญา (วางเงินหลักประกันตามที่TFEX กำหนด) ในสัปดาห์ต่อมา ราคาทองคำปรับตัวขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ นักลงทุนจึงทำการ ปิดสถานะเพื่อทำกำไร โดยการ Close Short GOH22 ที่ราคา 1,830 จำนวน 1 สัญญา

การคำนวนกำไรขาดทุน(ไม่รวมค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย)

= (ราคาปิด – ราคาเปิด) x ตัวคูณดัชนี x จำนวนสัญญา

= (1,830 – 1,800) x 300 x 1 = กำไรจากการลงทุน 9,000 บาท


2.การเก็งกำไรจากส่วนต่างราคา (Spread Trading)

     คือ การทำกำไรจากส่วนต่างราคาของ Futures 2 สัญญา โดยทำการ ซื้อ (Long) และ ขาย (Short) Futures ที่มีวันส่งมอบต่างกัน และ/หรือ มีสินค้าอ้างอิงต่างชนิดกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

     Calendar Spread Trade เป็นการเก็งกำไรจากส่วนต่างราคา Futures ที่มีสินค้าอ้างอิงเดียวกัน แต่มีวันส่งมอบต่างกัน (Calendar Spread Trade = สัญญาเดือนไกล – สัญญาเดือนใกล้)

     Inter-Commodity Spread เป็นการทำกำไรจากส่วนต่างราคา Futures ที่มีสินค้าอ้างอิงต่างกัน

Hedging ป้องกันความเสี่ยง : นักลงทุนที่มีการถือครองสินค้าอ้างอิง สามารถทำการป้องกันความเสี่ยงจากการปรับตัวของราคาสินค้าได้ โดยการเปิดสถานะตราสารอนุพันธ์ในฝั่งตรงข้ามกับการถือครองที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น นักลงทุนเป็นผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายจากต่างประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องถือครองเงินสกุล USD และมีความกังวลว่าเงินบาทจะมีการอ่อนค่า ทำให้เสียประโยชน์ในการทำธุรกิจ นักลงทุนสามารถทำการเปิดสถานะ Long USD Futures เมื่อเงินบาทมีการปรับตัวอ่อนค่าขึ้น นักลงทุนจะเสียประโยชน์ในการแลกเงิน USD เพื่อนำเข้าสินค้า แต่ในขณะเดียวกันก็จะได้รับประโยชน์จากการ Long USD Futures

Leverage การเพิ่มอำนาจการซื้อขาย : การซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะใช้ระบบการวางเงินหลักประกันแทนการจ่ายเงินเต็มจำนวนมูลค่าสัญญา โดยจะใช้เงินในการวางหลักประกันเพียงบางส่วน (5-20% ของมูลค่าสัญญา เป็นไปตามที่ TFEX กำหนด) ในขณะที่การคำนวนผลตอบแทนจะคำนวณจากมูลค่าสัญญา ทำให้การลงทุนใน Futures มีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในสินค้าอ้างอิงโดยตรง

     ตัวอย่างสมมุติเหตุการณ์ นักลงทุนมีความสนใจที่จะลงทุนในหุ้น AOT จำนวน 1,000 หุ้น ที่ราคา 60 บาท/หุ้น นักลงทุนต้องใช้เงินในการลงทุนทั้งสิ้น 60,000 บาท แต่หากนักลงทุนทำการ ซื้อ Single Stock Futures ที่อ้างอิงในหุ้น AOT 1 สัญญา (1,000 หุ้น) จะใช้เงินวางหลักประกันเพียง 4,760 บาท (เป็นไปตามที่ TFEX กำหนด)

     ต่อมานักลงทุนตัดสินใจขายหุ้น AOT ที่ราคา 65 บาท/หุ้น ผลตอบแทนจากการซื้อหุ้น AOT 1,000 หุ้น จะเท่ากับ (65-60)*1,000 = 5,000 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (5,000/60,000)x100= 8.33% แต่หากนักลงทุนทำการ ซื้อ Single Stock Futures ที่อ้างอิงในหุ้น AOT 1 สัญญา (1,000 หุ้น) นักลงทุนยังคงได้รับผลตอบแทน 5,000 บาท แต่คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (5,000/4,760)x100= 105.04%

     จะเห็นได้ว่า อัตราผลตอบแทน จากการลงทุนใน Futures สูงกว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดีหากทิศทางราคาสินค้าอ้างอิงไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็จะมีอัตราผลขาดทุนที่สูงด้วยเช่นกัน

การวางหลักประกัน

     ในการซื้อ/ขาย ตราสารอนุพันธ์ นักลงทุนไม่จำเป็นต้องวางเงินเต็มจำนวนเหมือนการซื้อขายหุ้น แต่ใช้เป็นการวางหลักประกันเพียง 5-20% ของมูลค่าสัญญาเท่านั้น โดยมี TFEX เป็นผู้กำหนด อัตราหลักประกันแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่

     1. Initial Margin Requirement (IMหรือMR) คือ ระดับหลักประกันขั้นต้น ที่ผู้ลงทุนต้องวางเงินหลักประกันไว้ก่อนที่จะเริ่มเปิดสถานะสัญญา

     2. Maintenance Margin (MM) คือ ระดับหลักประกันรักษาสภาพ โดยมูลค่าเงินวางหลักประกันรวมของผู้ลงทุน จะต้องไม่ต่ำกว่าระดับ MM นี้ มิฉะนั้นผู้ลงทุนจะถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) ให้กลับสู่ระดับ IM

     3. Intraday Force Close Margin (FM) ระดับหลักประกันปิดฐานะระหว่างวัน คือ ระดับหลักประกันปิดฐานะระหว่างวัน เมื่อระดับเงินวางหลักประกันรวมของผู้ลงทุน ต่ำกว่าระดับ FM นี้ ผู้ลงทุนจะถูกบังคับปิดสถานะ หรือต้องเพิ่มเงินหลักประกันภายในวัน

อัตราหลักประกัน ค่านายหน้า และ ค่าธรรมเนียม
Margin Rate and Commission Fee

Symbol ที่ใช้ในการซื้อขาย

ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1.ชื่อย่อสินค้าอ้างอิง

2.เดือนครบกำหนดอายุ

3.ปีครบกำหนดอายุ

เช่น SET50 Index Futures ที่จะครบกำหนดอายุ เดือน มีนาคม ปี 2022 Symbol ที่ใช้ในการซื้อขาย คือ S50H22

เดือนครบกำหนดอายุของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

Click to Icon hide
Months Series
January F
February G
March H
April J
May K
June M
July N
August Q
September U
October V
November X
December Z

เอกสารประกอบการเปิดบัญชี

  1. *เอกสารคำขอเปิดบัญชี (ประกอบด้วย ข้อมูลลูกค้า แบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และแบบแจ้งสถานะความเป็นบุคคลอเมริกัน/ไม่เป็นบุคคลอเมริกัน)
  2. *สัญญาแต่งตั้งตัวแทนเพื่อซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับ การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออปชั่นในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้า (Risk Disclosure Statement for Futures and Options Trading in Derivatives Exchange)
  3. *W-9 หรือ W-8BEN
  4. *หลักฐานประกอบการเปิดบัญชี (พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
    • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (เพื่อใช้แสดงตนที่สาขาของบริษัทฯ)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน(ด้านหน้าและด้านหลัง) ที่ยังไม่หมดอายุจำนวน 1 ฉบับ
    • สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล จำนวน 1 ฉบับ (กรณีที่ชื่อ-นามสกุลที่ปรากฎในเอกสารหลักฐานไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน)
    • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากที่ใช้ในการรับเงินปันผล และรับเงินที่ถอนจากบัญชี จำนวน 1 ฉบับ
    • สำเนาหลักฐานทางการเงิน ยอดรวมกันไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท (อาทิเช่น สำเนาบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีฝากประจำย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุด หรือใบแสดงยอดหลักทรัพย์/กองทุนในบัญชีเดือนล่าสุด หรือสลิปเงินเดือนล่าสุด หรือหลักฐานทางการเงินอื่นๆ ที่ยังไม่ครบกำหนดอายุ เช่น ตราสารหนี้พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน เป็นต้น)
    • บริษัทอาจพิจารณาขอเอกสารหลักฐานประกอบการเปิดบัญชีเพิ่มเติม (ถ้ามี)
  5. หมายเหตุ :  *กรณีท่านเปิดบัญชีหลายประเภท หากเอกสารประกอบการเปิดบัญชีตามที่กล่าวข้างต้น ตรงกับเอกสารประกอบการเปิดบัญชีกับประเภทบัญชีอื่น ท่านสามารถยื่นเอกสารเพียง 1 ชุด

Contact

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่

รายการเด่นที่น่าติดตาม