แหล่งข้อมูลนักลงทุนหน้าใหม่

คำแนะนำ

แหล่งข้อมูลนักลงทุนหน้าใหม่

คำแนะนำ

คำแนะนำและคู่มือบริการ

ตอบสนองทุกรูปแบบการลงทุน

แหล่งข้อมูลนักลงทุนหน้าใหม่

ตราสารทุน หมายถึง ตราสารที่กิจการออกขายให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ ตราสารทุนแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ทั้งนี้ บุคคลธรรมดาที่ลงทุนในหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หากได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 แต่ไม่ต้องเสียภาษีในกรณีของ Capital Gain (ผลตอบแทนในรูปของส่วนต่างในกรณีที่ราคาขายสูงกว่าราคาซื้อ)

ประเภทตราสารทุน

Click to Icon hide
สินค้าหุ้นสามัญ
(Common Stock)
คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น “เจ้าของกิจการ” ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในการออกเสียงลงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิได้รับเงินปันผล (ตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง) โดยจำนวนเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปี และนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท
หุ้นบุริมสิทธิ
(Preferred Stock)
200 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
หรือวอแรนท์ (Warrant)
คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด
หน่วยลงทุน
(Unit Trust)
คือ หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เพื่อระดมเงินเข้า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วนำเงินทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ผู้ถือหน่วยลงทุน จะได้รับสิทธิฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุน เงินปันผล ดอกเบี้ย และสิทธิประโยชน์ ต่างๆ จากผลกำไรที่เกิดขึ้น
ใบแสดงสิทธิในผล ประโยชน์ที่เกิดจากหลัก ทรัพย์อ้างอิงไทย หรือ เอ็นวีดีอาร์
(Non - Voting Depository Receipt : NVDR)
คือ ตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีลักษณะคล้ายกับ DR แต่ NVDR จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นฯ
ใบแสดงสิทธิในผล ประโยชน์ ที่เกิดจากหลัก ทรัพย์อ้างอิง
(Depository Receipt : DR)
คือ ตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด (บริษัทในเครือของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิเหมือนลงทุนในหลัก ทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ เช่น หากหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญก็จะได้รับเงินปันผล เหมือนหุ้นสามัญ แต่ DR จะมีกำหนดอายุการไถ่ถอน ซึ่งผู้ถือต้องมีสัญชาติไทย และต้องออกเสียงลงคะแนนผ่าน บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น

หลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI

Click to Icon hide
ประเภทหลักทรัพย์
หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
หน่วยลงทุน
NVDR
DR

หมายเหตุ :

  • ตลาดจะทำการสุ่ม (Random) เวลาเปิดช่วงเช้าระหว่าง 9.55-10.00 น ช่วงบ่าย 14.25-14.30 น และช่วงปิดตลาด 16.35-16.40
  • กรณีที่คำสั่งซื้อขาย ที่ไม่ถูกจับคู่ จนถึงเวลาตลาดปิดทำการ คำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ
  • การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ (Off - hour Trading) นักลงทุนสามารถเริ่มส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Overnight) ตั้งแต่เวลา 16: 45 น. เป็นต้นไป คำสั่งดังกล่าวจะถูกส่งคำสั่งผ่านระบบการซื้อขายในวันทำการถัดไป

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ ในการเสนอซื้อ (Bid) และเสนอขาย (Offer) หุ้นบนกระดานหลัก (Main Board) จะต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์อย่างน้อยเท่ากับ 100 หลักทรัพย์ (หน่วย) และทวีคูณเพิ่มทีละ 100 หลักทรัพย์ เช่น ซื้อหุ้น AAA ณ ราคา 5 บาท จำนวน 100 หุ้น เท่ากับ 500 บาท เป็นต้น แต่กรณีที่หลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นติดต่อกัน 6 เดือน จะซื้อขายเท่ากับ 50 หลักทรัพย์ (หน่วย) โดยทางตลาดหลักทรัพย์จะประกาศให้ทรายก่อนล่วงหน้า

Limit Price Order

  • เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มีการระบุจำนวนราคาในช่อง Price
  • หากจำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อขาย ณ ราคา Limit ไม่สามารถจับคู่การซื้อขายในส่วนที่เหลือ ระบบจะยกเลิกคำสั่งส่วนที่เหลือทั้งหมด ตอนสิ้นวันตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป

ATO (At the Open) / ATC (At the Close)

  • ATO เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดเปิดการซื้อขาย ณ ราคาเปิด โดยสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ เฉพาะในช่วงเวลาก่อนเปิดตลาด (Pre Open) ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย
  • ATC เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดปิดการซื้อขาย ณ ราคาปิด สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ในช่วง ก่อนปิดตลาด (Pre Close) เท่านั้น
  • คำสั่ง ATO และ ATC ที่ไม่มีการจับคู่ ระบบจะทำการยกเลิกจำนวนที่เหลือทั้งหมด การเรียงลำดับคำสั่งประเภท ATO และ ATC ในระบบการซื้อขายเพื่อการคำนวณหาราคาเปิด หรือราคาปิด จะอยู่ในลำดับก่อนคำสั่งประเภทระบุราคา (Limit Price Order)

MP (Market Price)

  • เป็นคำสั่งซื้อขายที่ผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายทันที ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น
  • การส่งคำสั่งแบบ MP ฝั่งเสนอซื้อ จะถูกจับคู่ ณ ราคาเสนอขายต่ำที่สุด (Offer แรก) แต่หากเป็นฝั่งเสนอขาย จะถูกจับคู่ ณ ราคาเสนอซื้อที่สูงที่สุด (Bid แรก)
  • หากจำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อขาย ณ ราคา MP ไม่สามารถจับคู่การซื้อขายได้ทั้งหมดจำนวน ระบบจะส่งคำสั่งซื้อขายที่เหลือในราคาถัดไป

IOC (Immediate or Cancel)

  • เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มีการระบุจำนวนราคาในช่อง Price

Limit Price Order

  • เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มีการระบุจำนวนราคาในช่อง Price
  • หากจำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อขาย ณ ราคา Limit ไม่สามารถจับคู่การซื้อขายในส่วนที่เหลือ ระบบจะยกเลิกคำสั่งส่วนที่เหลือทั้งหมด ตอนสิ้นวันตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป

Click to Icon hide
trade-symbol-xd Excluding Dividend ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการขึ้น XD จะไม่ได้รับสิทธิรับเงินปันผล
trade-symbol-xd Excluding Rights ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการขึ้น XR จะไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
trade-symbol-xd Excluding Warrant ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการขึ้น XW จะไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิ
trade-symbol-xd Excluding All ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการขึ้น XA จะไม่ได้รับสิทธิทุกประเภทที่ทางบริษัทประกาศในครั้งนั้น
trade-symbol-xd Excluding Benefit ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการขึ้น XB จะไม่ได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นและหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทในเครือเพิ่มเติม
trade-symbol-xd Excluding Meeting ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการขึ้น XM จะไม่ได้รับสิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
trade-symbol-xd Trading Halt ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินกว่า 1 รอบการซื้อขาย
trade-symbol-xd Suspension ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่า 1 รอบการซื้อขาย
trade-symbol-xd Notice Pending อยู่ระหว่างการรายงานข้อมูลให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ
trade-symbol-xd Notice Received ได้รับการชี้แจงข้อมูลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ
trade-symbol-xd Non-Compliance หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ ในการเสนอซื้อ (Bid) และเสนอขาย (Offer) หุ้นบนกระดานหลัก (Main Board) จะต้องระบุจำนวน ช่วงเวลาก่อนเปิดหรือปิดทำการซื้อขาย (Pre Open หรือ Pre Close) นักลงุทนจะส่งคำสั่งซื้อขายประเภทระบุราคา หรือคำสั่งประเภท ATO หรือ ATC เข้ามายังระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ โดยระบบจะนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดมาเรียงลำดับตามหลักราคาและเวลาที่ดีที่สุด และคำนวณเพื่อหาราคาเปิดหรือราคาปิด โดยมีหลักการคำนวนดังนี้

  1. เป็นราคาที่ทำให้เกิดการซื้อขายมากที่สุดเมื่อแรกเปิดทำการซื้อขายประจำวัน
  2. ในกรณีที่ราคาตาม (1) มีมากกว่าหนึ่งราคา ให้ใช้ราคาที่มีปริมาณคงเหลือหลังการจับคู่น้อยที่สุด (Minimum Imbalance)
  3. ในกรณีที่ราคาตาม (2) มีมากกว่าหนึ่งราคา ให้ใช้ราคาดังต่อไปนี้
    1. หากมีจำนวนเสนอซื้อรวมมากกว่าจำนวนเสนอขายรวม (Positive Imbalance) ทุกระดับราคาให้ใช้ราคาตาม (2) ที่สูงที่สุด
    2. หากมีจำนวนเสนอขายรวมมากกว่าจำนวนเสนอซื้อรวม (Negative Imbalance) ทุกระดับราคาให้ใช้ราคาตาม (2) ที่ต่ำที่สุด
    3. หากมีจำนวนเสนอซื้อรวมเท่ากับจำนวนเสนอขายรวมในทุกระดับราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียง Last Sale หากไม่มี Last Sale ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงราคา IPO หากไม่มีราคา IPO ให้ใช้ราคาที่สูงกว่า
    4. หากเป็นกรณีที่มีทั้ง Positive Imbalance และ Negative Imbalance ให้พิจารณาเฉพาะ 2 ระดับราคาที่เป็นช่วงเปลี่ยนจาก Positive Imbalance เป็น Negative Imbalance และเลือกราคาที่ใกล้เคียง Last Sale หากไม่มี Last Sale ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงราคา IPO หากไม่มีราคา IPO ให้ใช้ราคาที่สูงกว่า

ทั้งนี้ระบบการซื้อขายจะจัดให้คำสั่ง ATO / ATC เป็นราคาดังนี้

  • หาก ATO/ATC เป็น Bid : ระบบการซื้อขายจะเทียบระหว่าง Bid สูงสุด +1 tick และ Offer สูงสุด และเลือกราคาที่สูงกว่า 
  • หาก ATO/ATC เป็น Offer : ระบบการซื้อขายจะเทียบระหว่าง Offer ต่ำสุด -1 tick และ Bid ต่ำสุด และเลือกราคาที่ต่ำกว่า

NVDR หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย

เป็นตราสารชนิดหนึ่งที่ออกโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด" (Thai NVDR Company Limited) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์หลักของ NVDR
  1. เพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องการถือครองหลักทรัพย์
  2. ผู้ลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินต่างๆ เสมือนการลงทุนในหุ้น แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในการประชุมของบริษัทจดทะเบียนนั้น ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถซื้อขาย NVDR ได้เช่นเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไปที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ความรู้พื้นฐานการลงทุนในตราสารอนุพันธ์

การซื้อขายอนุพันธ์มีขั้นตอนหรือกระบวนการซื้อขายที่คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คือ ผู้ลงทุนจะทำการส่งคำสั่งซื้อหรือขาย ผ่านโบรกเกอร์ โดยโบรกเกอร์นี้ต้องเป็น บริษัทสมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เมื่อผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์แล้ว โบรกเกอร์จะส่งคำสั่งซื้อขายต่อมายังระบบซื้อขายของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางคอยจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อคําสั่งซื้อขายได้รับการจับคุ่แล้วระบบจะส่งรายละเอียดของรายการซื้อขายนั้นต่อไปยัง สํานักหักบัญชี (TCH) เพื่อทําหน้าที่ในการ ชําระราคา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ สำนักหักบัญชีจะทำหน้าที่คิดกําไรขาดทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและดูแลการรับและจ่ายเงิน ซึ่งการชำระ กำไรขาดทุนนี้ จะเกิดขึ้น 1 วันหลังจากที่ผู้ลงทุนซื้อหรือขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(T+1) ทั้งนี้ ขั้นตอนการซื้อขายในตลาด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. เปิดบัญชีและส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์อนุพันธ์
    **บัญชีอนุพันธ์สามารถซื้อขายได้ทุกสินค้า
  2. สรุปกำไรขาดทุนทุกวัน (Daily Mark-to-market)
  3. วางเพิ่ม หรือ ถอนเงินประกัน
  4. หมั่นตรวจสอบสถานะเพื่อประเมิน และตัดสินใจปรับเปลี่ยนสถานะของตนเอง

ประเภทของสินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์

SET50 Index Futures

SET50 Index Futures คือ สัญญาฟิวเจอร์สประเภทหนึ่งที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงที่จะซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง คือ ดัชนี SET50 ซึ่งการตกลง ซื้อขายดังกล่าวเป็นการตกลง ณ วันนี้ โดยใช้ราคา คือ ดัชนี SET50 ในอนาคต และเนื่องจากสินทรัพย์อ้างอิงที่ใช้ในการซื้อขายครั้งนี้คือดัชนี ผู้ขายจึงไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อได้ ดังนั้นวิธีการส่งมอบเราจะใช้วิธีการชำระส่วนต่างราคา หรือ Cash Settlement แทน

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ดัชนี SET50 ที่คำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อย่อสัญญา S50
ตัวคูณดัชนี 200 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนใกล้ 3 เดือนติดต่อกัน และ เดือนสุดท้ายของไตรมาสใน 3 ไตรมาสถัดไป
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายเป็นระดับดัชนี
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 จุด (คิดเป็น 20 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 30% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:55 น.
การจำกัดฐานะ ห้ามมีฐานะสุทธิรวมใน SET50 Index Futures และ SET50 Index Options เมื่อคำนวณฐานะเทียบเท่ากับฐานะ ใน SET50 Index Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือน รวมกันเกิน 100,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยสัญญาที่ครบอายุจะสิ้นสุดการซื้อขายในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ค่าเฉลี่ยของดัชนี SET50 ในวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยคำนวณจากค่าดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้ายและ ค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และ ใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา 7.1 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถ ต่อรองได้เสรี

Sector Index Futures

Sector Index Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงดัชนีหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นสัญญาที่เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถ ซื้อ หรือ ขาย เพื่อทำกำไรและบริหารความเสี่ยงบนการเคลื่อนไหวของดัชนีหมวดธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เนื่องจากอัตราการเติบโตในอนาคตของธุรกิจแต่ละหมวดอาจมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวหรือต่างไปจากสภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม Sector Index Futures จึงเป็นเครื่องมือการลงทุนที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนจัดกลยุทธ์และปรับพอร์ตลงทุนให้มีผลตอบแทนตามการเคลื่อน- ไหวของดัชนีหมวดธุรกิจตามที่ต้องการ และสามารถปรับพอร์ตลงทุนเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้เช่นกัน ทั้งนี้ Sector Index Futures ประกอบด้วย 5 หมวดธุรกิจ อันได้แก่ ธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลังงาน พาณิชย์ และ อาหารและเครื่องดื่ม

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ดัชนีหมวดธุรกิจ ซึ่งคำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร พลังงาน พาณิชย์ อาหารและ เครื่องดื่ม
ชื่อย่อสัญญา BANK ICT ENERG COMM FOOD
ตัวคูณดัชนี 1,000 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี 10 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย แสดงราคาเสนอซื้อหรือขายเป็นระดับดัชนี
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 จุดดัชนี
(คิดเป็น 100 บาทต่อสัญญา)
1 จุดดัชนี
(คิดเป็น 10 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน ไม่เกิน +30% ของราคาสำหรับการส่งมอบหรือใช้อ้างอิงเพื่อคำนวณส่วนต่างของราคาเพื่อใช้ในการชำระหนี้ ประจำวันล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:55 น.
การจำกัดฐานะ ห้ามมีฐานะรวมสุทธิในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Sector Futures ที่อ้างอิงกับดัชนีหมวดธุรกิจใดหมวดธุรกิจหนึ่ง ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันเกินกว่า 20,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ชำระราคาหรือส่งมอบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสัญญาที่ครบ อายุจะสิ้นสุดการซื้อขายในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ค่าเฉลี่ยของดัชนีหมวดธุรกิจอ้างอิงในวันสุดท้ายของการซื้อขาย โดยคำนวณจากค่าดัชนีหมวดธุรกิจอ้างอิงในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น หลังจากตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออกแล้ว และใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา (ต่อสัญญา) 20.1 บาท 5.1 บาท 10.1 บาท 10.1 บาท 5.1 บาท
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียม สามารถต่อรองได้เสรี

Single Stock Futures

Single Stock Futures คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาหุ้น เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทหนึ่งในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันในวันนี้ว่า ในอนาคตจะซื้อขายหุ้นกันที่ราคาเท่าไร จำนวนเท่าใด ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว ทำให้ Stock Futures เป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติน่าสนใจซื้อขาย สำหรับทั้งผู้ลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว และผู้สนใจทั่วไป กล่าวคือ เป็นช่องทางสร้างผลกำไรใหม่ๆ ใช้สร้างผลกำไรได้สองทาง สามารถ "ซื้อก่อนขาย" หรือ "ขายก่อนซื้อ" ทำให้ผู้ลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างราคาได้ในทุกสภาพตลาด มีอัตราผลตอบแทนสูง ต้นทุนต่ำ และกำไรที่ได้ไม่ต้องเสียภาษี Stock Futures

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง หุ้นสามัญจดทะเบียนตามรายชื่อที่ TFEX ประกาศ
ชื่อย่อสัญญา ชื่อย่อหุ้นอ้างอิง
ตัวคูณดัชนี 1 สัญญามีขนาดเท่ากับ 1,000 หุ้น
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายเป็นราคาต่อหุ้น
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 บาท
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 30% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:55 น.
การจำกัดฐานะ ห้ามมีฐานะสุทธิรวมใน Stock Futures ของหุ้นใดหุ้นหนึ่งในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันไม่เกินกว่า จำนวนที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกาศกำหนด
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยสัญญาที่ครบอายุจะสิ้นสุดการซื้อขายในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย คำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการซื้อขายของหุ้นอ้างอิงของ Stock Futures ในช่วง 15 นาทีสุดท้ายและ ณ เวลาปิดทำการซื้อขายของหุ้นอ้างอิงในวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ไม่มีการส่งมอบหุ้น แต่จะชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา ราคา < 100 บาท : 0.51 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ราคา > 100 บาท : 5.1 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถ ต่อรองได้เสรี

SET50 Index Options

SET50 Index Options คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ซื้อได้สิทธิในการ “ซื้อ” หรือได้รับสิทธิในการ “ขาย” ดัชนี SET50 จากผู้ขายในเงื่อนไข และราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาออปชั่น หรือที่เรียกว่า ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) SET50 Index Options มีจุดเด่นที่สามารถใช้สร้างกลยุทธ์ ทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด สามารถนำมาผสมผสานกับฟิวเจอร์ส หรือหุ้นเพื่อออกแบบกลยุทธ์ลงทุน รับมือกับตลาดได้ทั้งในภาวะขาขึ้น ขาลง และตลาดคงตัว

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง ดัชนี SET50 ที่คำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อย่อสัญญา S50C: Call Options
S50P: Put Options
ตัวคูณดัชนี 200 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนใกล้ 3 เดือนติดต่อกัน และ เดือนสุดท้ายของไตรมาสถัดไป
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.1 จุด (คิดเป็น 20 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 30% ของราคาปิดของดัชนี SET50 ล่าสุด
ประเภทการใช้สิทธิ ใช้สิทธิได้เมื่อสัญญาถึงกำหนดเท่านั้น (European)
ราคาใช้สิทธิ
  • วงห่างของราคาใช้สิทธิเท่ากับ 25 จุด
  • ในช่วงเริ่มต้นของทุกวันทำการ กำหนดให้มีออปชั่น Series ต่อไปนี้ 
At-the-money จำนวน 1 series 
In-the-money และ Out-of-the-money จำนวนอย่างละไม่น้อยกว่า 2 series
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:55 น.
การจำกัดฐานะ ห้ามมีฐานะสุทธิรวมใน SET50 Index Futures และ SET50 Index Options เมื่อคำนวณฐานะเทียบเท่ากับฐานะ ใน SET50 Index Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือน รวมกันเกิน 100,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยสัญญาที่ครบอายุจะสิ้นสุดการซื้อขายในเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ค่าเฉลี่ยของดัชนี SET50 ในวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยคำนวณจากค่าดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และ ค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และ ใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา 5 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถ ต่อรองได้เสรี

10 Baht Gold Futures / 50 Baht Gold Futures

Gold Futures ป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ทำกำไรได้ตามความคาดการณ์ที่มีต่อราคาทองคำได้ทั้งในภาวะราคาทองขาขึ้นและราคาทอง ขาลง ด้วยคุณลักษณะเด่น ที่สามารถซื้อก่อนขายหรือขายก่อนซื้อก็ได้ และใช้เงินลงทุนน้อย ประกอบกับทั้งราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ สัมพันธ์กับราคาหุ้น โกลด์ฟิวเจอร์ส จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการทำกำไรและกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน

ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สได้ง่าย สะดวก ผ่านระบบซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(TFEX) โดยมีบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ประกันการชำระราคาจากการซื้อขาย และมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและบริษัทสมาชิก ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าในทุกๆ การซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโปร่งใส ยุติธรรม และเชื่อถือได้ ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดซื้อขาย Gold Futures 2 ประเภท คือ

  1. 10 Baht Gold Futures
  2. 50 Baht Gold Futures
Click to Icon hide
หัวข้อ 10 Baht Gold Futures 50 Baht Gold Futures
สินค้าอ้างอิง ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5%
ชื่อย่อสัญญา GF10 GF
ตัวคูณดัชนี 1 สัญญามีขนาดเท่ากับ
ทองคำน้ำหนัก 10 บาท (152.44 กรัม)
(ทองคำหนัก 1 บาท = 15.244 กรัม)
1 สัญญามีขนาดเท่ากับ
ทองคำน้ำหนัก 50 บาท (762.20 กรัม)
(ทองคำหนัก 1 บาท = 15.244 กรัม)
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนคู่ (กุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน สิงหาคม ตุลาคม และธันวาคม) ใกล้ที่สุด 3 ลำดับ
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายเป็นเงินบาทต่อทองคำน้ำหนัก 1 บาท
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 10 บาท (คิดเป็นมูลค่า 100 บาทต่อสัญญา) 10 บาท (คิดเป็นมูลค่า 500 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 10% จากราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าว ตลาดสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง พร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น +20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18.45 น. - 19.00 น.
Night session:
19.00 น. - 23.55 น.
การจำกัดฐานะ ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจประกาศกำหนดจำนวนการถือครองสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุด ได้ตามที่ เห็นสมควร
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้น สัญญาที่หมดอายุจะซื้อขายได้ถึงเวลา 16:30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย

ใช้ราคา London Gold AM Fixing เป็นราคาอ้างอิงในการคำนวณราคา Final Settlement Price โดยการคำนวณ จะปรับอัตราแลกเปลี่ยน น้ำหนักและความบริสุทธิ์ของทองคำตามสูตรการคำนวณ ดังนี้

ราคาต่อน้ำหนักทองคำ 1 บาท (ใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
= London Gold AM Fixing x (15.244/31.1035) x (0.965/0.995) x (THB/USD)

โดยที่

  • London Gold AM Fixing เป็นราคาต่อ 1 troy ounce ของทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 99.5% ซึ่งมีน้ำหนักเท่ากับ 31.1035 กรัม
  • ทองคำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
  • 0.965 คือ ตัวแปรที่ใช้ปรับค่าความบริสุทธิ์ของทองคำให้เป็น 96.5%
  • THB/USD เป็นอัตราแลกเปลี่ยนตามที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกาศกำหนด ซึ่งจะคำนวณจาก ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา 8.1 บาท ต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย 40.1 บาท ต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถ ต่อรองได้เสรี

USD Futures

TFEX จัดให้มีสัญญาซื้อขายดอลลาร์ล่วงหน้า (USD Futures) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ส่งออกและนำเข้าได้มีเครื่องมีอในการจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้ง ยังถือเป็นสินค้าที่เป็นทางเลือกให้กับ ผู้ลงทุนใช่ในการบริหารพอร์ตเงินลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการกระจายการลงทุน หรือเพื่อสร้างผลตอบแทนจากกา รเปลี่ยนแปลงค่าเงิน<>/p>

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ
ชื่อย่อสัญญา USD
ตัวคูณดัชนี 1,000 USD
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลำดับกัน 3 เดือนที่ใกล้ที่สุด และเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ถัดไป (มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม) อีก 1 เดือน
ราคาเสนอซื้อขาย เป็นเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 หรือเทียบเท่ากับ 10 บาทต่อสัญญา
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 2% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าว ตลาดสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง พร้อมขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น
+ 4 % ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:55 น.
จำนวนการถือครองสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้าสูงสุด ห้ามมีฐานะสุทธิใน USD Futures ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือทั้งหมด เกิน 5,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ชำระราคา หรือส่งมอบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น โดยในวันนั้น สัญญาที่สิ้นสุดอายุจะซื้อขายได้ถึงเวลา 11:00 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ประกาศ โดย Thomson Reuters ณ เวลา 11:00 น. ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย และใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา 1 บาทต่อสัญญา
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถ ต่อรองได้เสรี

3M BIBOR Futures

Interest Rate Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่ใช้เพื่อป้องกัน หรือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวขึ้นลง ของอัตราดอกเบี้ยที่สัญญา ซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงไว้ได้ หรือปรับเปลี่ยนสัดส่วนในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ลงทุนสามารถบริหาร จัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง อัตราดอกเบี้ย BIBOR ประเภท 3 เดือน (3M BIBOR)
ชื่อย่อสัญญา BB3
ตัวคูณดัชนี มูลค่าเท่ากับ 10,000,000 บาท
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายต่อหน่วยเป็นค่า 100 - อัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าของ 3M BIBOR
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.005 (คิดเป็น 125 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 1.25% จากราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าว ตลาดสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง พร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น 
+ 2.50% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:00 น.
การจำกัดฐานะ ห้ามมีฐานะสุทธิรวมใน 3M BIBOR Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันเกินกว่า 2,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันพุธที่สามของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้นสัญญาที่หมดอายุจะซื้อขาย ได้ถึง เวลา 11:00 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย กำหนดให้เท่ากับ 100 - อัตราดอกเบี้ย 3M BIBOR ซึ่งประกาศโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เวลา 11:00 น. ในวันซื้อขายวันสุดท้าย
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา 20 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถต่อรองได้เสรี

5Y Gov Bond Futures

Interest Rate Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่ใช้เพื่อป้องกัน หรือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวขึ้นลง ของอัตราดอกเบี้ยที่สัญญา ซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงไว้ได้ หรือปรับเปลี่ยนสัดส่วนในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

Click to Icon hide
สินค้าอ้างอิง พันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 ปี ที่มีอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี โดยมีกลุ่มพันธบัตร (Basket of Eligible Bonds) เป็นตัวแทนของสินค้าอ้างอิง
ชื่อย่อสัญญา TGB5
ตัวคูณดัชนี มูลค่าเท่ากับ 1,000,000 บาท
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาส
ราคาเสนอซื้อขาย เสนอซื้อขายเป็นราคาต่อพันธบัตรมูลค่า 100 บาท
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 (คิดเป็น 100 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน + 2.50% จากราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าว ตลาดสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง พร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น
+ 5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:45 น. - 14:15 น.
Afternoon session:
14:15 น. - 16:00 น.
การจำกัดฐานะ ห้ามมีฐานะสุทธิรวมในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 5Y Gov Bond Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกัน เกินกว่า 10,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันพุธที่สามของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้นสัญญาที่หมดอายุจะซื้อขาย ได้ถึง เวลา 16:00 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย กำหนดเป็นราคาต่อพันธบัตรมูลค่า 100 บาท และคำนวณจากอัตราคิดลด (Yield) ของกลุ่มพันธบัตร (Basket of Eligible Bonds) ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย ซึ่งอัตราคิดลดของพันธบัตรแต่ละรุ่นในกลุ่มพันธบัตรนั้น จะเป็นข้อมูลที่ได้รับจากสถาบันการเงินที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากำหนด
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา ชำระราคาเป็นเงินสด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา 10 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขาย ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย อัตราค่าธรรมเนียมสามารถ ต่อรองได้เสรี
Click to Icon hide
BID
(ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์)
ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งที่ส่งเข้ามาในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งราคา เสนอซื้อนี้จะถูกจัดเรียงตามลำดับของราคา โดยที่ราคาเสนอซื้อที่สูงสุด (BEST BID) จะถูกจัดไว้เป็นลำดับแรก
OFFER
(ราคาเสนอขายหลักทรัพย์)
ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีการเสนอขายเข้ามาในระบบซื้อขาย ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีราคา ซึ่งราคาเสนอขายที่ต่ำที่สุด (BEST OFFER) จะถูกจัดไว้เป็นลำดับแรก
ODD LOT
(หน่วยย่อย)
จำนวนหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่า 1 หน่วยซื้อขาย (Board Lot) คือจำนวนหลักทรัพย์ตั้งแต่ 1 หุ้นแต่ไม่ถึง 100 หุ้น การซื้อขายหน่วยย่อยนี้จะทำการซื้อขาย บน Odd-Lot Board
ODD-LOT BOARD
(กระดานซื้อขายหน่วยย่อย)
กระดานหน่วยย่อย เป็นส่วนหนึ่งของระบบซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ไว้รองรับการซื้อขาย หลักทรัพย์แต่ละ รายการที่ซื้อขายกันในจำนวนหุ้นที่ไม่ครบเต็ม 1 หน่วยซื้อขาย (Board Lot) ซึ่งราคา ซื้อขายบน Odd-Lot Board จะต้องอยู่ภายในกรอบ Ceiling Price กับ Floor Price ของวันนั้นด้วย
CEILING PRICE
(ราคาเพดาน)
ระดับราคาสูงที่สุดของหลักทรัพย์ในแต่ละวัน โดยกำหนดไว้ที่ + 30 % ของราคาปิดในวันก่อนหน้า
FLOOR PRICE
(ราคาพื้น)
ระดับราคาต่ำที่สุดของหลักทรัพย์ในแต่ละวัน โดยกำหนดไว้ที่ - 30% ของราคาปิดในวันก่อนหน้า
SELLING SHORT หรือ SHORT SELL
(การขายชอร์ต)
การขายหุ้นโดยที่ผู้ขายได้ยืมหุ้นนั้นมาจากบริษัทหลักทรัพย์หรือจากสถาบันที่ให้บริการยืมหุ้น ผู้ขายชอร์ต จะต้องวางเงินประกัน (Margin) ไว้กับบริษัทผู้ให้ยืมหุ้นในจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด และเงินจากการขายหุ้นดังกล่าวก็ต้องเก็บรักษาไว้ที่บริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกันด้วย ทั้งนี้จนกว่า ผู้ขายชอร์ตจะส่งคืนหุ้น จำนวนที่ยืมไปนั้น ซึ่งจะส่งคืนหุ้น ณ วันที่ถึงกำหนดส่งคืนหุ้นหรือส่งคืนก่อนวันครบ กำหนดก็ได้ ในระหว่างที่ยังไม่ส่งคืนหุ้น หากหุ้นนั้นได้รับสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากบริษัทผู้ออกหุ้น ผู้ขายชอร์ต จะต้องส่งมอบสิทธิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นแก่บริษัทนายหน้าของตน เพื่อส่งมอบต่อให้แก่เจ้าของหุ้นที่ให้ ยืมอีกทอดหนึ่ง สิทธิต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจ่ายเงินปันผล การให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น

รายการเด่นที่น่าติดตาม