3 ขั้นตอนการนำกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง (VAYU1) เข้าพอร์ตหลักทรัพย์กสิกรไทย กรณีเลือกซื้อกองทุน โดยฝากไว้ที่ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ TSD (บัญชี 600)
คำถามที่พบบ่อย กรณีกองทุนรวมวายุภักษ์ (VAYU1)
Q1: ราคา Par คืออะไร
ราคา Par (หรือมูลค่าที่ตราไว้) คือ มูลค่าเริ่มต้นของกองทุน คำนวณจากมูลค่าทุนจดทะเบียนหารด้วยจำนวนหน่วยที่กองทุนออก เช่น กองทุน A มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีหน่วยลงทุนทั้งหมด 10 ล้านหน่วย ราคา Par = 10 บาท
Q2: ราคา IPO คืออะไร
ราคา IPO คือ ราคาหน่วยลงทุนที่ทางบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ กำหนดเป็นราคาที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปในครั้งแรก
Q3: เงินปันผลจะได้รับอย่างไร
- กรณีที่ลูกค้าสมัครบัญชี E-dividend ไว้ เงินปันผลจะถูกโอนเข้าบัญชี E-dividend ที่ท่านแจ้งไว้
- หากไม่มีบัญชี E-dividend เงินปันผลจะถูกส่งเป็นเช็คไปตามที่อยู่ที่ท่านได้แจ้งไว้ตอนปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
Q4: ขั้นตอนการสมัครใช้บริการ E-dividend
สามารถสมัคร E-dividend ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่แอปพลิเคชัน K-Cyber Trade / Streaming ในหัวข้อ “สมัครโอนเงินปันผลเข้าบัญชีธนาคาร” บนเมนู “My Service”
Q5: ภาระภาษีจากเงินปันผล
เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ยกเว้นเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
Q6: กำไรจากการขายหลักทรัพย์ต้องจ่ายภาษีหรือไม่
กำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ของบุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นภาษี ดูข้อมูลเพิ่มเติม
Q7: ค่าธรรมเนียมการซื้อ/ขายหลักทรัพย์
ตรวจสอบธรรมเนียมการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ คลิก
Q8: เงินค่าขายหลักทรัพย์จะได้รับเมื่อไหร่
ขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีหลักทรัพย์ของท่าน ดังนี้
• หากเป็นบัญชีประเภท Cash Balance (xxxxxx-7) เงินค่าขายจะถูกฝากเป็นหลักประกันในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านที่อยู่กับ บล.กสิกรไทยทันที
• หากเป็นบัญชีประเภท Cash Account (xxxxxx-8) เงินค่าขายจะถูกโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของท่านที่ผูกไว้ในระบบการหัก/โอนเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์อัตโนมัติ (ATS) ใน 2 วันทำการถัดไปหลังวันที่มีรายการขายหลักทรัพย์ (T+2)
Q9: ต้องการถอนเงินค่าขายหลักทรัพย์จากบัญชี (xxxxxx-7) จะต้องทำอย่างไร
ช่องทางการถอนเงินดังต่อไปนี้
แจ้งถอนเงินออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน K-Cyber Trade / Streaming
1. เลือกหัวข้อ “ถอน” ในเมนู “My Service”
2. ระบุประเภทบัญชีหลักทรัพย์, วันที่ต้องการรับเงิน, จำนวนเงินที่ต้องการถอน (กรณีถอนมากกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท กรุณาเลือก “ถอนระบุจำนวนเงิน” หรือ กรณีถอนน้อยกว่า 5,000 บาท กรุณาเลือก “ถอนเงินทั้งหมดหลังหักภาระหนี้คงค้าง”) และ ช่องทางการรับเงิน กรุณาระบุ “โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร”
3. กด “ตกลง” สามารถทำรายการถอนในวันทำการตั้งแต่เวลา 8.30 - 19.00 น.
ท่านสามารถทำรายการถอนเงินผ่านเมนู My Service ในวันทำการตั้งแต่เวลา 8.30 - 19.00 น. หากประสงค์แจ้งถอนเงินผ่านเจ้าหน้าที่ กรุณาติดต่อผู้จัดการเงินทุนบุคคลของท่านในวันและเวลาทำการ 8.30 - 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดตามธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : รายละเอียดการขอถอนเงินและการรับเงินจะเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขการขอถอนเงิน
1.1 จำนวนเงินขั้นต่ำที่สามารถขอถอนได้คือ 5,000 บาท
1.2 กรณีเลือกวันที่รับเงิน
1.2.1 เลือกรับเงินในวันที่ทำรายการ (T) ระบบจะดำเนินการหักเงินออกจากบัญชีของท่านทันที
1.2.2 เลือกวันที่รับเงินล่วงหน้า ระบบจะหักเงินในระบบวันทำการถัดไป และหากท่านนำจำนวนเงินที่ต้องการถอนนั้นไปซื้อหลักทรัพย์ก่อนระบบทำการหักเงิน บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกคำขอ
1.3 กรณีเพิ่มหรือเปลี่ยนบัญชีธนาคารรับเงิน
1.3.1 หากท่านเลือกรับเงินในวันที่ทำรายการและทำการเพิ่มหรือเปลี่ยนบัญชีธนาคาร ท่านจะได้รับเงินในวันทำการถัดไป (T+1)
1.3.2 หากท่านเลือกวันที่รับเงินล่วงหน้าและทำการเพิ่มหรือเปลี่ยนบัญชีธนาคาร ท่านจะได้รับเงินตามวันที่ท่านเลือกไว้
2. เงื่อนไขการรับเงิน
2.1 บัญชีของผู้รับเงินต้องไม่เป็นบัญชีร่วม (บัญชีและ หรือ เพื่อ โดย) และชื่อเจ้าของบัญชีผู้รับเงินต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อผู้ขอถอนเงิน
2.2 ระยะเวลาในการรับเงิน:
2.3 สำหรับบัญชีประเภท Credit Balance หากลูกค้าต้องการถอนเงินค่าขายหลักทรัพย์ที่รับโอนมาจากบัญชีอื่น (หุ้นจำนำ) ลูกค้าจะได้รับเงินใน 2 วันทำการถัดไป
Q10: เงินที่ขอถอนจะได้รับอย่างไร
เงินที่ขอถอนทางบริษัทฯ จะนำฝากให้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ท่านได้ให้ไว้กับบริษัทฯ
- บัญชี Cash Balance (xxxxxx-7) เงินจะเข้าบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้า เวลา 11.00น. ของวันที่ลูกค้าระบุตอนทำรายการถอนเงิน
- บัญชี Cash Account (xxxxxx-8) เงินค่าขายจะถูกโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของท่านที่ผูกไว้ในระบบการหัก/โอนเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์อัตโนมัติ (ATS) เวลา ตั้งแต่ 14.00 -16.00 น. ใน 2 วันทำการถัดไปหลังวันที่มีรายการขายหลักทรัพย์ (T+2)
Q11: จัดสรรหน่วยลงทุนแก่นักลงทุนรายย่อยอย่างไร
(ก) ในกรณีที่จำนวนหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนรายย่อยทุกรายจองซื้อรวมกันมีจำนวนไม่เกินจำนวนสุดท้ายของหน่วยลงทุนที่จัดสรรสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย บริษัทจัดการและผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนจะจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยทุกรายตามจำนวนที่จองซื้อ
(ข) ในกรณีที่จำนวนหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนรายย่อยทุกรายจองซื้อรวมกันมีจำนวนเกินจำนวนสุดท้ายของหน่วยลงทุนที่จัดสรรสาหรับผู้ลงทุนรายย่อย บริษัทจัดการและผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนจะจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อย ด้วยวิธีการ small lot first หรือผู้จองซื้อที่จำนวนขั้นต่ำได้รับการจัดสรรก่อน (จัดสรรหน่วยลงทุนรอบแรก 1,000 หน่วย ให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยทุกราย จากนั้นรอบถัดไปจัดสรรหน่วยลงทุน 100 หน่วย ให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยทุกราย จนกว่าจะหมด)
Q12: รูปแบบการถือหน่วยลงทุน
ผู้ลงทุนสามารถเลือกรับหน่วยลงทุนในรูปแบบไร้ใบหน่วยลงทุน (scripless) ได้ 2 วิธี ดังนี้
1. รับหน่วยลงทุนเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ (Port หุ้น) ของตน หรือ
2. ฝากหน่วยลงทุนไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) หรือ บัญชี 600 ทั้งนี้ กรณีฝากเข้าบัญชี 600 จะไม่สามารถขายหน่วยลงทุนได้ทันวันแรกที่หน่วยลงทุนประเภท ก. เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้
Q13: ประกาศผลการจัดสรรหน่วยลงทุนภายในวันใด
ภายในวันที่ 25 กันยายน 2567 สามารถเช็คผลจัดสรรได้ผ่านผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุนของท่าน
Q14: เมื่อฝากหน่วยลงทุนไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ TSD (บัญชี 600) แล้ว ต้องการโอนหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตต้องทำอย่างไร
วิธีการโอนหุ้นจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ TSD (บัญชี 600) เข้าฝากในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านที่ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย
กรุณาดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. กรอกแบบฟอร์ม ศรท.403 ดาวน์โหลด
- ชื่อเจ้าของหลักทรัพย์
- เลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ 7 หลัก
- ชื่อหลักทรัพย์ และ จำนวนหลักทรัพย์
- ลงนามตรงช่องลูกค้า/ผู้ฝากหลักทรัพย์ ในหน้าที่ 1 และ หน้าที่ 2
2. นำส่งสำเนาบัตรประชาชนที่ไม่หมดอายุ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ขีดคร่อม “เพื่อโอนหลักทรัพย์เท่านั้น”
- กรณีบัตรประชาชนแบบตลอดชีพ กรุณาแนบสำเนาทะเบียนบ้านเพิ่มเติม พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง โดยลายเซ็นของเอกสารทุกฉบับต้องเป็นลายเซ็นเดียวกัน
- ห้าม ขูด ลบ.ขีด ฆ่า หรือ แก้ไข ข้อความหนึ่งข้อความใดบนเอกสารทุกฉบับ
- ชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ และ ชื่อบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ต้องเป็นบุคคลเดียวกัน
3. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียน/EMS มาที่
ฝ่ายจัดการเงินทุนบุคคลกลาง
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชั้น 11 อาคารธนาคารกสิกรไทย 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
Q15: การโอนหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ลูกค้าไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการโอนหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตหลักทรัพย์ของท่าน
Q16: หน่วยลงทุนที่นำมาฝากไว้จะเข้าพอร์ตในวันไหน
ประมาณ 3-5 วันทำการนับจากวันที่บริษัทฯ ได้รับเอกสารประกอบการโอนหน่วยลงทุนและเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
Q17: จะทราบได้อย่างไรว่าหน่วยลงทุนถูกโอนเข้าพอร์ตแล้ว
เมื่อหน่วยลงทุนของท่านถูกนำเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้วทางบริษัทฯ จะส่งใบรับฝากหน่วยลงทุนให้ท่าน ผ่านช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารที่ท่านได้แจ้งไว้ คือ ทางอีเมล หรือทางไปรษณีย์
Q18: ยังเปิดพอร์ตไม่สำเร็จ สามารถโอนหน่วยลงทุนมาได้หรือไม่
บริษัทฯ จะรับโอนหน่วยลงทุนสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีซื้อขายกับบริษัทฯ เรียบร้อยแล้วเท่านั้น หากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านยังไม่ได้รับการอนุมัติ จะไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตได้
Q19: หากต้องนำเอกสารประกอบการโอนหน่วยลงทุนมาส่งด้วยตนเอง สามารทำได้เอกสารไว้ที่สาขาธนาคารกสิกรไทยได้หรือไม่
เพื่อป้องกันการสูญหาย และล่าช้า ขอให้ท่านส่งเอกสารแบบลงทะเบียน/EMS มาโดยตรงได้ที่
บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย เท่านั้น : ฝ่ายจัดการเงินทุนบุคคลกลาง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชั้น 11 อาคารธนาคารกสิกรไทย 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
หรือส่งด้วยตัวเองที่ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ชั้น 1 (เคาน์เตอร์หลักทรัพย์กสิกรไทย) ตรวจสอบสาขา บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย
Q20: หน่วยลงทุนเป็นชื่อของคนอื่น สามารถนำเข้าพอร์ตได้หรือไม่
ชื่อเจ้าของหน่วยลงทุนและเจ้าของพอร์ตต้องตรงกันจึงจะสามารถโอนหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตได้ หากต้องการโอนหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตซื้อ-ขายของบุคคลอื่น กรุณาติดต่อ TSD Call Center 02-009-9999 เพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงส่งเอกสารโอนหน่วยลงทุนนั้นมาฝากเข้าพอร์ต
Q21: หากต้องการนำหน่วยลงทุนที่อยู่ในบัญชีนายทะเบียน TSD (บัญชี 600) เข้าพอร์ตซื้อขายของบุคคลอื่นทำอย่างไร
ผู้รับโอนต้องติดต่อที่ TSD Call Center 02-009-9999 เพื่อขอโอนหน่วยลงทุน