KS Asset Allocation : 4 สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ


KS Asset Allocation : 4 สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ
อัปเดตเศรษฐกิจทั่วโลก
- คาดการเติบโตของ GDP ทั่วโลกในปี 2567 จะชะลอตัวลงเหลือ 2.1% โดยสหรัฐฯ ที่ +1.5% จีนที่ +4.2% และญี่ปุ่นที่ +1.0% ขณะที่ยุโรป ไทย และเวียดนามคาดว่าจะเติบโตเร็วกว่าในปี 2566 ที่ 1.2% 3.2% และ 5.8% ตามลำดับ
- นักวิเคราะห์คาดว่า Fed, ECB, BOE, BOJ, PBOC และ ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามเดิมในการประชุมครั้งแรกของปีนี้ ขณะที่คาดว่า Fed, ECB และ BOE กำลังพิจารณาถึงการลดดอกเบี้ย
- จากประมาณการของเรา GDP ปี 2567 คาดว่าจะเติบโต 3.1% โดย ธปท.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.8%
อัปเดตตลาดทั่วโลก
- ดัชนี TOPIX ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด YTD ที่ +7.12% ตามมาด้วยน้ำมันและดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม ขณะที่ REITs ให้ผลตอบแทนน้อยสุดที่ -3.63%
- เวียดนามมีการประเมินมูลค่าตลาดที่น่าดึงดูด ด้วยการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) ในปี 2567 ที่แข็งแกร่ง เทียบกับ PER (Z-Score) ล่วงหน้า
สมมติฐานสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- ฉากทัศน์ของสภาวะเศรษฐกิจทั้ง Stagflation, No landing, Soft landing, และ Hard landing
- อิงจากคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตในปี 2567 ของเรา มีโอกาส 40% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะประสบกับภาวะ soft landing ด้วย GDP ที่เติบโตช้าที่ 1.5%, อัตราเงินเฟ้อที่ราว 3-4% และอัตราการว่างงานทรงตัว ขณะที่มีโอกาส 30% ที่จะเกิดสภาวะ no-landing และ 20% ที่จะเกิดสภาวะ hard landing ส่วนสมมติฐานที่่น่าจะเกิดขึ้นได้น้อยที่สุดคือสภาวะ stagflation ด้วยความเป็นไปได้ที่ 10%
- กลยุทธ์การลงทุนพันธบัตรในระยะสั้นจะได้ประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยและหุ้นกู้ในระยะยาวจะได้ประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ย ทองคำเป็นทรัพย์สินที่ปลอดภัยในสภาวะ stagflation ขณะที่หุ้นคุณค่าและตลาดเกิดใหม่จะดีสำหรับสภาวะ no-landing หุ้นและ REITs ทำผลงานได้ดีในสภาวะ soft landing และหุ้นกลุ่ม defensive stocks ดีสำหรับสภาวะ hard landing
มุมมองของเรา
- การให้น้ำหนักสินทรัพย์ เราคงการลดน้ำหนักการลงทุนเล็กน้อย (SUW) ในการถือเงินสดสำหรับสมมติฐาน soft landing หรือ no-landing แนะนำเงินฝาก USD fixed deposits หรือ US MMF ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ 5% เราแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนเล็กน้อยในตราสารหนี้จากอัตราตอบแทนที่น่าดึงดูดใจและคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ย
- เรายังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนเล็กน้อยในตลาดหุ้นจากแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะ soft และ no-landing เรายังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนเล็กน้อยในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากคาดการณ์ที่ว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง รวม 0.75% ตลาดหุ้นยุโรปเป็นกลางจากปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็นกลางจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและเงินเยนที่อ่อนค่าลง คงน้ำหนักการลงทุนเป็นกลางต่อตลาดหุ้นจีนจากปัญหาด้านอสังหาฯ และความตึงเครียดกับสหรัฐฯ เราคงน้ำหนักการลงทุนเป็นกลางต่ออินเดียจากปัจจัยพื้นฐานที่ดีแต่มูลค่าแพง เราลดน้ำหนักการลงทุนประเทศไทยเป็นกลางจากการอนุมัติโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ล่าช้าขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าที่เติบโตขึ้น
- เราลดน้ำหนักการลงทุนเล็กน้อยในทองคำจาก upside ที่จำกัดจากสงครามในตะวันออกกลางไม่ได้รุกราม และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกอง REIT ทั่วโลกจากผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจในช่วงที่อัตราตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกลดลง
Monthly mutual fund recommendations
- ตราสารหนี้ เราแนะนำ UGIS-N สำหรับตราสารหนี้ทั่วโลกโดยมีสัดส่วนการลงทุนในสหรัฐฯ มากที่สุด ด้วยอัตราผลตอบแทนในพอร์ตน่าสนใจจากอัตราตอบแทนจนถึงระยะเวลาไถ่ถอน (YTM) คาดไว้ที่ 6.67%, อัตราตอบแทนปัจจุบันที่ 4.64% และระยะเวลาของพอร์ตที่ 3.27 ปี
- หุ้นทั่วโลก เราชอบ K-WORLDX เป็นการลงทุนดัชนีหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ดัชนี S&P 500 แตะระดับสูงสุดใหม่ จากสมมติฐานที่จะเกิดภาวะ soft หรือ no-landing และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed พิจารณาใช้กลยุทธ์ 'ซื้อเมื่อย่อตัวลง' (buy the dip)
- หุ้นเชิงกลยุทธ์ เราชอบ VanEck Pharmaceutical ETF (PPH:US) ซึ่งประกอบด้วยหุ้นผู้ผลิตยาซึ่งมีความ defensive อีกทั้งกองทุนยังให้น้ำหนักการถือหุ้น Eli Lilly และ Novo Nordisk มากที่สุด ซึ่งสองบริษัทดังกล่าวจะได้ประโยชน์จากการเติบโตของตลาดยาลดน้ำหนักกลุ่ม GLP-1 receptor agonist

เปิดพอร์ตลงทุน >> https://ksecurities.co/open-account
Follow us :
LINE : https://ksecurities.co/KS-LineOA
Facebook: https://ksecurities.co/KS-Facebook
Instagram: https://ksecurities.co/KS-Instagram
Twitter: https://ksecurities.co/KS-Twitter
YouTube: https://ksecurities.co/KS-Youtube
Threads: https://ksecurities.co/KS-Threads
#KS #หลักทรัพย์กสิกรไทย #KSecurities #การลงทุน #การลงทุนหลักทรัพย์ #ผลตอบแทน #ข่าวหุ้น #หุ้นไทย #สหรัฐ #US #AssetAllocation